วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบออนไลท์

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบการปกครองสมัยสุโขทัย





1. อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำอะไร

แม่น้ำปิง

แม่น้ำยม

แม่น้ำวัง

แม่น่าน



2. อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอะไรกับอะไร

อ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง

อ่าวมามะนะ และ ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

อ่าวชุมพล และ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง

อ่าวมามะนะ และ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง



3. การปกครองในอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบใดบ้าง

ปกครองกันเอง แบบพ่อปกครองลูก

ปกครองแบบประชาธิปไตย และ แบบธรรมราชา

แม่ปกครองลูก และ พ่อปกครองลูก

พ่อปกครองลูก และ แบบธรรมราชา



4. เศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด

แบบเสรีนิยม

แบบสังคมนิยม

แบบประชานิยม

แบบปกติ



5. ในสมัยสุโขทัยมีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้นอะไรบ้าง

ผู้ปกครอง ข้าราชบริพาร ไพร่ ทาส

ข้าราชบริพาร ไพร่ ทาส เพื่อน

ไพร่ เจ้านาย ลูกน้อง ทาส

ทาส เจ้านาย ลูกจ้าง คนปกติ



6. สถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 อยู่ที่ไหน

ถ้ำเจ้าราม

ถ้ำอาราม

ถ้ำเสือราม

ถ้ำมโนราม



7. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามีการ ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ใครคือผู้ที่เป็นคนยกทัพมา

ขุนสิงหา

ขุนนารามา

ขุนสามชน

ขุนศรีอินทราทิตย์



8. รัฐสุโขทัยแบ่งออกเป็นกี่ส่วน

5

4

3

8



9. จาก ข้อ 8 มีอะไรบ้าง

เมืองสรวงสองแคว เมืองสุโขทัย

เมืองเชลียง

เมืองชากังราว

ถูกทุกข้อ



10. การสิ้นสุดของรัฐในพ.ศ. 2127 ชนะศึกที่ไหน

แม่น้ำสะโตง

แม่น้ำน่าน

แม่น้ำมูล

แม่น้ำยม





ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:






ประวัติการปกครองกรุงสุโขทัย



การปกครองสมัยสุโขทัย


อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

ที่ ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบ ลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้[1]

  1. ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือจังหวัดนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำ โขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ


ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลัก ธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์





สถาปนา อาณาจักร

เมื่อต่อมาเกิดความขัดแย้งบางประการ ทั้งอาจจะเกิดจากขอมสบาดโขลญลำพงโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่น่าจะกระทบกระเทือนต่อ ราชวงศ์นำถุม (ผาเมือง) และราชวงศ์พระร่วง จึงส่งผลให้พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ต้องร่วมมือกันชิงเอาสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 1781 จากนั้น พ่อขุนผาเมืองก็กลับยกเอาเมืองสุโขทัย พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ ให้กับพ่อขุนบางกลางหาว และหายไปจากประวัติศาสตร์จากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ทั้งการไปครองเมืองที่ใหญ่กว่า หรือกลับไปครองเมืองราดตามเดิมอย่างสงบ

แม้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ระหว่างขุนสามชน กับ รามราช พระโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผลคือพระโอรสองค์เล็กได้รับชัยชนะ และได้รับการเฉลิมพระนามว่ารามคำแหง หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมือง พระโอรสองค์โต และ พ่อขุนรามคำแหง พระโอรสองค์เล็ก ก็ได้ปกครองสุโขทัยต่อตามลำดับ โดยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงได้ประกอบพระกรณียกิจไว้มากมาย ทั้งการขยายดินแดน ซึ่งเดิมเชื่อว่าทรงได้พื้นที่จากพงสาลี จรดแหลมมลายู แต่ปัจจุบันหลักฐานหลายชิ้นระบุอาณาเขตไว้ใต้สุดเพียงเมืองพระบาง นอกจากนี้ด้านศาสนายังมีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อีกด้วย


ด้าน การปกครอง

แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1.แบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย )

สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วย พระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก(ปิตุลาธิปไตย)ใช้ใน สมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น

2.แบบธรรมราชา

การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔

ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

ในแนวราบ

จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับ ประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้

ในแนวดิ่ง

ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ